วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงกล้วยไม้



1. ชื่อกล้วยไม้ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้นั้นพิถีพิถันในเรื่องชื่อของกล้วยไม้แต่ละต้นเป็นพิเศษ ซึ่งต่างไปจากการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากจะรู้จักชื่อแล้วยังต้องค้นหากันต่อไปว่าเป็นชนิดแท้หรือลูกผสมถ้าเป็นลูกผสมยังต้องสืบเสาะต่อไปว่าอะไรผสมกันกับอะไร เช่นสมมุติว่ามีกล้วยไม้ต้นหนึ่งชื่อแวนดารอธไชล์เดียนา(VandaRothschildiana)ซึ่งเป็นลูกผสมดอกสีฟ้าก็ต้องทราบต่อไปว่าเป็นลูกผสมระหว่างแวนดาแซนเดอรานากับฟ้ามุ่ย บางทีรู้เท่านี้ยังไม่พอ ต้องสืบเสาะต่อไปอีกว่า ฟ้ามุ่ยที่เอามาผสมเป็นฟ้ามุ่ยต้นไหน แซนเดอรานาก็เหมือนกันต้องสืบให้รู้ ทั้งนี้เพราะกล้วยไม้ก็เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ถึงแม้จะเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวกันก็มิใช่ว่าจะให้ลูกที่มีคุณลักษณะดีเหมือนกันได้ จึงต้องสืบประวัติอย่างละเอียด จากความพิถีพิถันดังกล่าวมานี้ทำให้ผู้ริเริ่มเล่นกล้วยไม้ใหม่ ๆ ชักท้อใจ ด้วยจดจำชื่อของกล้วยไม้ไม่ไกล้วยไม้
กล้วยไม้ไทย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และเป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน การเลี้ยง กล้วยไม้ไทย ใประเทศไทยจึงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 ในหมู่ของผู้สูงอายุและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร การส่งเสริมการเลี้ยง กล้วยไม้ไทย ได้เริ่มพันธุ์ต่างๆจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยง และมีการผสมพันธุ์กันบ้างแต่ยังจำกัดวงอยู่เช่นเดิม ความรู้ทางวิชาการจึงมิได้กระจายออกไปเท่าที่ควร และทรัพยากรต่างๆ ก็ยังมิได้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจนด้วย ใน พ.ศ. 2495 จึงได้มีการเปิดแนวความคิดใหม่ออกไปสู่มุมกว้าง ได้มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ในการเพาะ เมล็ดกล้วยไม้หรือ กล้วยไม้ไทย แบบวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และนำออกเผยแพร่ เพื่อให้คนทุกระดับฐานะนำไปปฏิบัติได้ อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนรักและสนใจต้นไม้ เพื่อการพัฒนาทางจิตใจ และเป็นการส่งเสริมการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจด้วย
และไทยยังค้นพบ กล้วยไม้ไทย พันธุ์ต่างๆ เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้ในสกุลแวนดา (Vanda) คัทลียา (Cattleya) และสกุลเดนโดรเบียม (Dendrobium) หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า สกุลหวาย กล้วยไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะแปลกออกไปคือ มีรากใหญ่ ยาวและแตกแขนงรากอย่างโปร่งๆ เป็นรากอากาศ แม้จะเกาะกับต้นไม้ ก็จะมีส่วนที่ยาวและห้อยลงมาในอากาศด้วย แต่รากกล้วยไม้สกุลคัทลียาและเดนโดรเบียมมีลักษณะค่อนข้างเล็กละเอียดและหนาแน่นไม่โปร่งอย่างแวนดาบางตำราจึงแยกกล้วยไม้สกุลคัทลียาและเดนโดรเบียมไปไว้ในประเภทกึ่งอากาศ ของ กล้วยไม้ไทย หว บางท่านคงนึกประหลาดใจว่า ทำไม่คนที่เล่นกล้วยไม้มานาน ๆ จึงจดจำได้เก่งเรื่องนี้ไม่ใช ่เรื่องแปลกแต่อย่างใดอาศัยความคุ้นเคย ความใกล้ชิดผ่านหูผ่านตาบ่อย ๆ ก็จำได้เองยิ่งมีหลักในการจำแนกกล้วยไม้อยู่ในสมองด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้จดจำง่ายขึ้น และเลือกจดจำประเภทหรือสกุลที่ตนสนใจเท่านั้น การจำแนกกล้วยไม้นั้นเตาจำแนกได้หลายวิธี เช่น จำแนกตามรูปทรง ตามอุณหภูมิที่ต้องการ ตามความนิยมของผู้ปลูกเลี้ยงและตามหลักวิชาทางพฤกษศาสตร์ เป็นต้นในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการจำแนกประการหลังซึ่งจะเป็นหลักในการจดจำชื่อเสียง และสามารถเขียนอ่านได้ถูกต้อง พืชมีการจำแนกเป็นชั้นต่ำ ชั้นสูง คือเริ่มจากพืชเซลล์เดียวขึ้นมาเป็นพืชหลายเซลล์ แต่ไม่แตกเป็นรากเป็นลำต้น เป็นใบ เช่น พวกเชื้อราต่าง ๆ สูงขึ้นมามี ราก ลำต้น ใบครบ แต่ไม่มีดอก เช่น พวกมอสและเฟิน สูงสุดคือ พวกพืชมีดอก เช่น ข้าว พริกมะเขือเป็นต้น ในพวกพืชมีดอกก็แบ่งย่อยออกเป็น 2 พวก คือ พวกมีใบเลี้ยงคู่ เช่น ถั่ว มะม่วง พุทรา ผักกาดพวกมีใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวหญ้า กล้วย ขิง ข่า ตะไคร้ และกล้วยไม้ การจัดแบ่งนี้ยึดถือหลักการที่ว่าพวกมีลักษณะใกล้เคียงกันก็รวมไว้ในพวกเดียวกัน ถ้ามีลักษณะผิดแผกออกไปก็แยกไว้อีกพวกหนึ่ง สำหรับพืชมีดอกนั้นยึดถือดอกเป็นลักษณะสำคัญในการจัดแบ่ง ถ้าจะเปรียบเทียบการจำแนกพืชกับสิ่งอื่นแล้ว ก็ขอเทียบกับการจัดแบ่งการปกครองของประเทศไทย การจัดแบ่งทั้งสองแบบที่นำมาเปรียบเทียบกันนี้ ถือความใกล้ชิดกันเป็นหลักต่างกันที่ว่าการจัดแบ่งการปกครองใช้ความใกล้ชิดเรื่องที่ตั้ง คือ หลาย ๆ หมู่บ้านอยู่ใกล้กันก็รวมเป็น 1 ตำบล หลาย ๆ ตำบลอยู่ใกล้กันก็รวมเป็น 1 อำเภอ ฯลฯ ส่วนสิ่งมีชีวิตอาศัยความใกล้ชิดกันในเรื่องรูปร่างลักษณะ คือ หลาย ๆ ชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกันที่รวมไว้ในสกุลเดียวกัน หลาย ๆ สกุลที่คล้ายกันก็รวมไว้ในวงศ์เดียวกัน กล้วยไม้ทั้งหมดในโลกนี้จัดรวมไว้ในกระกูลเดียวกัน คือ ตระกูลกล้วยไม้ หรือนิยมเรียกกันว่าวงศ์กล้วยไม้(Family Orchidaceae)พืชในวงศ์กล้วยไม้ทั้งหมดจำแนกออกได้ประมาณ 650 สกุล แต่มีที่มนุษย์สนใจนำมาปลูกเลี้ยงแลผสมพันธุ์ผลิตลูกผสม 170 สกุลเท่านั้น ในจำนวนนี้มีการนำมาผสมข้ามสกุลกันประมาณ150 สกุล มีสกุลใหม่ที่เกิดจากการผสมข้ามสกุลประมาณ 550 สกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น