วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลาดุกยักษ์

ปมมรณะ สำหรับผู้เลี้ยงปลา
ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคสัตว์น้ำตลอดมาหลายท่านคงอยากรู้ว่าปมมรณะคืออะไรผมจะบอกให้ก็แล้วกันก็คือโรคแสนปมหลายท่านอาจจะไม่รู้จักหรือเรียกง่ายๆว่าโรคหูดปลาบอกเท่านี้คงจะรู้จักกันนะ โรคนี้อาจจะไม่มีความรุนแรงแต่จะทำให้สัตว์ทยอยตายลงไปก่อนที่จะทำความรู้จักกับโรคแสนปมผมจะพาไปดูประวัติความเป็นมาเสียก่อนก็แล้วกัน โรคแสนปมเมื่อเกิดกับปลาแล้วจะทำให้ลำตัวเกิดเป็นปุ่มปมทั่วไปหมด โรคนี้เกิดขึ้นประมาณ 100 ปีมาแล้วโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป เมื่อก่อนเข้าใจว่าปลาเป็นโรคเนื้องอกและมีสาเหตุมาจากปรสิตขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต่อมาไม่นานมีนักวิทยาศาสตร์ชื่อ วีเซนเบิร์ก ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวพบว่าเชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ เชื้อไวรัส (Iridovirus) อาการที่มองเห็นจากภายนอก คือ จะมีปุ่มปมเห็นตุ่มหูดนี้เกาะบริเวณผิวลำตัว และครีบ คล้ายหูดที่มีสีขาวขุ่นและมีสีครีมปนชมพู นอกจากนี้ก็ยังพบปุ่มปมเหล่านี้ในอวัยวะภายในด้วยเช่นกัน อาการเหล่านี้เองซึ่งเป็นที่มาของโรคแสนปมหรือลิมโฟซิสทิส (Lymphocystic) โรคนี้เกิดขึ้นได้กับปลาหลายชนิดทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล ในประเทศไทยเท่าที่มีรายงานพบว่า โรคนี้มักเกิดกับปลากะพงขาวทั้งที่เลี้ยงในน้ำจืด และในกระชัง ในน้ำทะเล ปลาตะกรับหรือภาษาใต้เรียกว่า ปลาขี้ตัง ที่เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เมื่อปลาเป็นโรคนี้แล้วจะมีลักษณะน่าเกลียดไม่สามารถนำไปขายตามท้องตลาดได้ นอกจากนั้นเมื่อปุ่มปมนี้แตกออกบริเวณนั้นก็จะเกิดแผลเป็นสาเหตุให้ปลาตายได้ และเชื้อไวรัสก็จะแพร่กระจายไปยังปลาตัวอื่นในบ่อหรือกระชังที่อยู่ใกล้ ๆ กันทำให้เกิดการระบาดของโรค มีรายงานว่าปลาที่เป็นโรคแสนปมแล้วรอดตายก็จะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้เอง โดยธรรมชาติทุกคนคงอยากจะรู้ว่าโรคแสนปมนี้มีวิธีการป้องกันรักษาอย่างไร ผมจะบอกให้ฟัง โรคแสนปมยังไม่มียาที่รักษาได้ผล ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรคจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดกับการเลี้ยงปลาถ้าหากมีการระบาดของโรคแสนปมเกิดขึ้นในแหล่งที่คนเลี้ยงปลาอยู่หรือมีโรคเกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาของคุณเอง สิ่งที่ควรจะต้องกระทำคือ พยายามจัดการเรื่องคุณภาพน้ำในบ่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยการลดปริมาณอาหารลง เพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ควบคุมค่าพีเอชของน้ำให้คงที่หรือมีค่าประมาณ 6.5-7.5 หรือแยกปลาที่เป็นโรคออกให้หมดและทำลายโดยการฝังดินและกลบด้วยปูนขาวเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคต่อไป ส่วนปลาที่ไม่เป็นโรคก็ควรจะย้ายไปไว้ในบ่อใหม่และกักไว้ประมาณ 2 เดือนเพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคนั้นหมดไปแล้ว ส่วนบ่อปลาที่เกิดโรคนี้ระบาดต้องมีการถ่ายน้ำออกให้หมด พร้อมทั้งทำการฆ่าเชื้อด้วยปูนขาวหรือสารละลายด่างทับทิมเพื่อลดปริมาณสารพิษต่าง ๆ แต่ถ้าหากคุณเลี้ยงปลาไว้แน่นเกินไปก็ควรหาทางลดจำนวนปลาในบ่อลง ด้วยการกระจายปลาไว้บ่ออื่นนั่นเอง แต่ถ้าปลาที่คุณเลี้ยงไว้ในตู้กระจกแล้วเกิดเป็นโรคนี้ขึ้นคุณอาจจะช่วยได้ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิน้ำให้สูงขึ้นจากปกติเป็น 30-31 °C โดยการใช้เครื่องทำความร้อน (heater) ปลาก็จะหายจากโรคนี้ได้เร็วขึ้น ถ้าผู้เลี้ยงสามารถควบคุมเรื่องการจัดการฟาร์มที่ดีโรคนี้ก็จะค่อย ๆ หายไปเอง ปลาที่แข็งแรงแผลที่เกิดจากการแตกของปุ่มปมเหล่านั้นจะค่อย ๆ สมานได้เองโดยธรรมชาติ ผู้เลี้ยงบางคนอาจจะใช้ยาปฏิชีวนะผสมกับอาหารให้ปลาป่วยกินเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียก็ได้เอกสารอ้างอิงสุปราณี ชินบุตร.2536.โรคแสนปม.ว.โรคสัตว์น้ำ.ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ธันวาคม หน้า 1-2. นิรนาม. 2550. โรคหูดปลาหรือโรคแสนปม.[Online]Avaikable : http://www.vetmu.com/Wpage/article/fish.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น